วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Bill of Exchange

ตั๋วแลกเงิน
ตั๋วแลกเงิน (Bill of exchange) คือ ตราสารการเงินระยะสั้น ที่บุคคลรายหนึ่งสั่งให้บุคคลอีกรายหนึ่ง จ่ายเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ในตั๋วแลกเงินนั้น ให้แก่บุคคลอีกรายหนึ่ง ในวันที่กำหนดบนหน้าตั๋วแลกเงินนั้น ตั๋วแลกเงินสามารถซื้อขายเปลี่ยนมือได้ในตลาดเงิน (money market) ส่วนใหญ่จะมีธนาคารหรือสถาบันการเงินค้ำประกัน หรือรับรอง หรือรับอาวัล หรือสลักหลังอย่างไม่มีเงื่อนไข ตั๋วเงินชนิดหนึ่งเป็นตราสารแสดงสิทธิในหนี้ มักใช้ในการซื้อขายสินค้าหรือกู้ยืมระยะสั้นจากธนาคาร โดยทั่วไปสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนได้
การออกตั๋วแลกเงิน
แนวคิด
1. ตั๋วแลกเงินต้องมีรายการได้แก่ (1) คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วแลกเงิน (2) คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้จ่ายเงินเป็นจำนวนแน่นอน (3) ชื่อหรือยี่ห้อผู้จ่าย (4) ชื่อหรือยี่ห้อผู้รับเงิน หรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ และ (5) ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย หากรายการดังกล่าวขาดตกบกพร่องไป ย่อมไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วแลกเงิน
2. วันถึงกำหนดของตั๋วแลกเงินก็คือ วันถึงกำหนดใช้เงินตามตั๋ว ซึ่งแยกได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ (1) ตั๋วแลกเงินที่สั่งให้ใช้เงินเมื่อทวงถามหรือเมื่อได้เห็น (2) ตั๋วแลกเงินที่กำหนดเวลาให้ใช้เงิน
3. ความรับผิดของผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังตั๋วแลกเงินเกิดขึ้นโดยเงื่อนไขว่าผู้ทรงต้องยื่นตั๋วต่อผู้จ่ายก่อน ถ้าผู้จ่ายไม่รับรองหรือไม่จ่ายเงินและผู้ทรงจัดให้ทำคำคัดค้านแล้วผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังจะใช้เงินแก่ผู้ทรง
4. ข้อกำหนดลบล้างหรือจำกัดความรับผิดและข้อกำหนดลดหน้าที่ของผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังตั๋วแลกเงินแยกได้ 2 ประการ ได้แก่ (1) ข้อกำหนดลบล้างหรือจำกัดความรับผิดของผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังที่มีต่อผู้ทรง (2) ข้อกำหนดลดหน้าที่ของผู้ทรงที่มีต่อผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลัง

รายการในตั๋วแลกเงิน
        ตั๋วแลกเงิน หมายถึง หนังสือตราซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้สั่งจ่ายสั่งบุคคลอีกคนหนึ่งที่เรียกว่า ผู้จ่ายให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลคนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ผู้รับเงินตั๋วแลกเงินจึงเป็นคำสั่งให้จ่ายเงินนั่นเอง
อนุมาตรา (1) คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วแลกเงิน
        คำบอกชื่อว่าตั๋วแลกเงินมีความหมายสำคัญเพื่อให้บุคคลที่เกี่ยวข้องรู้เห็นทราบได้ทันทีว่าตราสารนั้นเป็นตราสารพิเศษ และเนื่องจากเมื่อตราประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ขึ้น ตั๋วเงินเป็นของใหม่ไม่สู้แพร่หลาย จึงต้องบัญญัติให้ระบุลงไปในตั๋วให้ชัดแจ้งว่าเป็นตั๋วแลกเงิน ประกอบกับ Uniform Law (1930) ซึ่งเราอาศัยเป็นหลักในการร่างกฎหมายลักษณะตั๋วเงิน
        สำหรับตั๋วแลกเงินมาจากต่างประเทศ อาจไม่มีคำว่า ตั๋วแลกเงิน (Bill of Exchange) เพราะบางประเทศ กฎหมายของเขาไม่บังคับให้ต้องระบุดังในมาตรา 909 (1) อย่างไรก็ดี คำบอกชื่อว่าตั๋วแลกเงินไม่จำเป็นต้องเขียนที่หัวกระดาษ อาจเป็นข้อความในตั๋วเงินว่า first of exchange ก็ได้
อนุมาตรา (2) คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้จ่ายเงินเป็นจำนวนแน่นอน
        รายการนี้เป็นข้อบังคับเด็ดขาด ถ้าขาดไปจะไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วแลกเงิน (มาตรา 910) ตามรูปตัวอย่างตั๋วแลกเงินคือ โปรดจ่ายเงินจำนวนหนึ่งหมื่นบาทถ้าไม่กรอกจำนวนเงินเสียเลยหรือกรอกจำนวนเงินมิได้เป็นไปตามที่ผู้สั่งจ่ายขอร้อง ตั๋วแลกเงินนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ อธิบายแยกได้เป็น 3 หัวข้อ คือ
ก. คำสั่ง หมายความว่า เป็นคำบงการหรือคำบอก เพื่อให้ทำหรือให้ปฏิบัติโดยไม่ให้โอกาสเลือกทำหรือเลือกปฏิบัติของผู้รับคำสั่งและมิใช่เพียงแต่คำขอร้องหรือคำอ้อนวอนที่ผู้รับคำขอร้องหรือคำอ้อนวอนจะทำตามหรือไม่ก็ได้ อย่างไรก็ดี คำสั่งก็ไม่จำต้องเขียนลงไปในตัวแลกเงินตรงๆ ว่าข้าพเจ้ามีคำสั่งให้จ่ายเงินเพราะอาจใช้ถ้อยคำสุภาพลงไปในคำสั่งนั้นได้ เช่นโปรดจ่ายเงินซึ่งจะไม่ทำให้ตั๋วแลกเงินฉบับนั้นเสียไปเพราะมีความหมายเป็นข้อความกำหนดให้จ่ายเงินโดยผู้จ่ายไม่มีโอกาสเลือกจ่ายหรือไม่จ่ายตามอัธยาศัยของผู้จ่ายเช่นเดียวกัน
ข. อันปราศจากเงื่อนไข หมายความว่า ลักษณะสำคัญที่สุดของตั๋วแลกเงิน คือ ความแน่นอนที่ตั๋วแลกเงินจะต้องได้รับการจ่ายเงินตามตั๋วนั้น จะมีเงื่อนไขในการคำสั่งให้จ่ายเงิน ตั๋วแลกเงินนั้นย่อมเกิดความไม่แน่นอนขึ้น คำว่าเงื่อนไข หมายความว่า เหตุการณ์อันใดอันหนึ่งที่เกิดขึ้นในอนาคตและไม่แน่นอน (เทียบมาตรา 182 เติมมาตรา 144) จึงต่างกับเงื่อนเวลา ซึ่งจะต้องมาถึงในอนาคตอย่างแน่นอน ดั้งนั้น ข้อความในคำสั่งให้จ่ายเงินจะเป็นเงื่อนไขหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงความแน่นอนหรือไม่แน่นอนของเหตุการณ์ที่กำหนดไว้ในคำสั่งนั่นเอง
ค. ให้จ่ายเงินเป็นจำนวนแน่นอน หมายความว่า คำสั่งในตั๋วแลกเงินต้องเป็นคำสั่งจ่ายเงินถ้าเป็นคำสั่งให้กระทำการอย่างอื่นนอกจากเงินแล้วจะไม่ใช่ตั๋วแลกเงิน แต่ถ้ามีคำสั่งว่าให้จ่ายเงินและสิ่งของอื่นควบไปด้วย คงมีผลเฉพาะคำสั่งให้จ่ายเงินเท่านั้น ส่วนคำสั่งที่ให้จ่ายสินค้าที่ระบุไว้ ย่อมไม่มีผลแก่ตั๋วแลกเงิน (มาตรา 899) และถ้ามีคำสั่งให้ผู้รับตั๋วแลกเงินเลือกเอาว่าจะรับเงินหรือรับสิ่งของอื่นแทน ดังนี้น่าจะทำไม่ได้ เพราะจะกลายเป็นคำสั่งที่ไม่แน่นอน คำว่า เงินหมายถึง เงินตราที่ชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติเงินตรา ตั๋วแลกเงินโดยมากใช้ในระหว่างประเทศ ดังนั้น จึงสั่งจ่ายเป็นเงินตราต่างประเทศก็ได้ (มาตรา 196) คำว่าเงินจำนวนแน่นอนหมายความว่า ต้องเป็นเงินจำนวนที่เที่ยงแท้ไม่อาจเปลี่ยนแปลงไปทางเพิ่มหรือทางลดลงได้
อนุมาตรา (3) ชื่อหรือยี่ห้อผู้จ่าย
        รายการข้อนี้บังคับเด็ดขาด ถ้าขาดตกบกพร่องให้ถือว่าไม่เป็นตั๋วแลกเงิน (มาตรา 910)
        ผู้จ่าย คือ ผู้รับคำสั่งให้ใช้เงินตามตั๋วแลกเงิน จึงจำเป็นที่ผู้สั่งจ่ายต้องระบุชื่อผู้จ่ายไว้ในตั๋วแลกเงิน ผู้จ่ายอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ และอาจเป็นบุคคลเดียวหรือหลายคนร่วมกันจ่ายเงินก็ได้ เว้นแต่คำสั่งให้บุคคลหลายคนจ่ายเงินเรียงตามลำดับก่อนหลังโดยไม่ระบุให้รับผิดร่วมกัน หรือคำสั่งให้เลือกผู้จ่ายจากบุคคลหนึ่งบุคคลใดในหลายคนที่ระบุโดยไม่ระบุให้บุคคลเหล่านั้นต้องรับผิดร่วมกันจ่ายเงิน ย่อมทำให้ไม่ทราบตัวผู้จ่ายที่แน่นอนทำให้ตั๋วแลกเงินนั้นเสียไป
        การระบุชื่อจ่าย อาจระบุเพียงตำบลที่อยู่ซึ่งเข้าใจกันก็ได้ การระบุชื่อผู้จ่ายที่ไม่มีตัวตนหรือสมมติขึ้น ก็ไม่ทำให้ตั๋วแลกเงินเสียไป เพราะมีรายการชื่อผู้จ่ายแล้ว และตั๋วแลกเงินไม่มีตัวผู้จ่าย ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดต่อผู้ทรง ส่วนยี่ห้อเป็นชื่อที่บุคคลใช้ในการค้า ไม่เป็นนิติบุคคล การระบุยี่ห้อเป็นผู้จ่ายต้องเข้าใจว่าหมายถึงบุคคลใด ถ้าไม่อาจทราบได้ ก็เท่ากับไม่มีตัวผู้จ่าย ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดต่อผู้ทรง ผู้จ่ายอาจเป็นบุคคลเดียวกันกับผู้สั่งจ่ายตามที่ มาตรา 912 วรรคสอง บัญญัติว่าตั๋วแลกเงินจะสั่งจ่ายเอาจากตัวผู้สั่งจ่ายเองก็ได้
อนุมาตรา (4) วันถึงกำหนดใช้เงิน
วันถึงกำหนดใช้เงิน ย่อมเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ คือ
1. ในวันใดวันหนึ่งที่กำหนดไว้
2. เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่วันที่ลงในตั๋วนั้น
3. เมื่อทวงถามหรือเมื่อได้เห็น
4. เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่ได้เห็น
        รายการนี้ถ้าไม่ระบุไว้ ไม่ทำให้ตั๋วแลกเงินเสียไป แต่กฎหมายให้ถือว่าพึงใช้เงินเมื่อได้เห็น (มาตรา 910 วรรคสอง)
อนุมาตรา (5) สถานที่ใช้เงิน
        สถานที่ใช้เงินนั้น ตามความคิดธรรมดาที่ระบุไว้ก็เพื่อผู้ทรงจะได้รู้ตำแหน่งแห่งที่ในการที่จะเอาตั๋วไปขึ้นเงิน แต่ในกฎหมายตั๋วเงินนั้น ผู้จ่ายยังมิได้เข้าเป็นคู่สัญญาในตั๋วแลกเงิน สถานที่ใช้เงินจึงมีความสำคัญที่ผู้ทรงจะยื่นตั๋วแลกเงินเพื่อให้ผู้จ่ายรับรองหรือเพื่อเรียกร้องให้ผู้จ่ายใช้เงิน ณ ที่ใดตามที่กำหนดไว้ในตั๋วแลกเงินนั้น ถ้าไม่มีสถานที่ใช้เงินตามที่ระบุผู้ทรงต้องทำการคัดค้านไว้ (ม. 962) จึงจะไม่เสียสิทธิไล่เบี้ย (ม. 973) กรณีที่ไม่ได้แถลงไว้ในตั๋วแลกเงิน มาตรา 910 วรรคสาม ท่านให้ถือเอาภูมิลำเนาผู้จ่ายเป็นสถานที่ใช้เงิน
อนุมาตรา (6) ชื่อหรือยี่ห้อผู้รับเงินหรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ
        รายการข้อนี้บังคับเด็ดขาด ถ้าขาดตกบกพร่องไปย่อมไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วแลกเงิน ความสำคัญของชื่อหรือยี่ห้อผู้รับเงินคือ ทำให้ผู้จ่ายทราบว่าจะจ่ายเงินให้แก่ใคร จะเป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาก็ได้ จะเป็นชื่อจริงหรือชื่อสมมุติ หรือตำแหน่งก็ได้ (ถ้าเป็นชื่อสมมุติและไม่มีตัวจริง กฎหมายอังกฤษให้จ่ายแก่ผู้ถือ แต่ของไทยไม่ได้ใช้อย่างนั้น)
อนุมาตรา (7) วันและสถานที่ออกตั๋วเงิน
ก. วันออกตั๋วเงิน หมายความถึงวันที่ระบุในตั๋วเงินนั้นได้ออกเมื่อใด ซึ่งกฎหมายไม่ได้ระบุว่าต้องใช้ ตามวันแห่งปฏิทินดังนั้นอาจระบุอย่างอื่นได้ เช่น วันเข้าพรรษา ปี 2537 หรือ วันเฉลิมพระชนมพรรษา ปี 2538 เป็นต้น ความสำคัญ คือ
1) แสดงให้รู้กำหนดอายุของตั๋วเงิน ตามชนิดต่าง ๆ เช่น ชนิดใช้เงินเมื่อเห็น หรือ เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่ได้เห็นว่า ผู้ทรงต้องนำตั๋วยื่นให้ผู้จ่ายใช้เงินหรือรับรองภายในกำหนด
2) ตั๋วเงินชนิดที่ให้ใช้เงินเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินนั้น วันออกตั๋วเงินมีความสำคัญที่จะต้องระบุไว้ในตั๋วนั้น
3) ต้องใช้ในการคำนวณดอกเบี้ย
- บุคคลที่จะลงวันออกตั๋วเงิน มีได้ 2 คน คือ (1) ผู้สั่งจ่าย (2) ผู้ทรง
1) กรณีผู้สั่งจ่ายเป็นผู้ลงวันออกตั๋วเงิน : ผู้สั่งจ่ายสามารถตั้งใจลงวันให้ผิดความจริงได้ คือ ลงวันย้อนต้น ลงวันถัดไป หรือ ลงวันล่วงหน้า ก็ได้
2) กรณีผู้ทรงเป็นผู้ลงวันออกตั๋วเงิน : ม. 910 วรรคห้า ถ้ามิได้ลงวันออกตั๋ว ท่านว่าผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายคนหนึ่งคนใดทำการโดยสุจริตจะจดวันตามที่ถูกต้องแท้จริงลงก็ได้และ มาตรา 932 วรรคแรกตั๋วแลกเงินฉบับใดเขียนสั่งให้ใช้เงินในกำหนดระยะเวลาอย่างใดอย่างหนึ่งนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินนั้น แต่หากมิได้ลงวันไว้ ฯลฯ ท่านว่าผู้ทรงจะจดวันออกตั๋ว ฯลฯ ลงตามที่แท้จริงก็ได้ แล้วพึงให้ใช้เงินตามนั้นหมายความว่า ในกรณีที่ผู้สั่งจ่ายมิได้ลงวันออกตั๋วเงินไว้เลย ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายหรือผู้ทำการแทนผู้ทรงโดยชอบย่อมมีสิทธิที่จะจดวันออกตั๋วได้ แต่ต้องเป็นการจดวันตามที่ถูกต้องแท้จริงและการจดวันนั้นต้องจดโดยสุจริต คือ จดตามวันที่ผู้ทรงเชื่อหรือเข้าใจว่าเป็นวันที่ถูกต้องนั่นเอง
        ถ้าผู้ทรงจดวันลงไปไม่ตรงตามที่เป็นจริง ที่เรียกว่า ลงวันคลาดเคลื่อนหรือลงวันผิดนั้น ไม่ว่าผู้ทรงจะสุจริตหรือไม่สุจริตก็ตาม ถ้าตั๋วเงินนั้นโอนต่อไปยังผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายคนถัดไปแล้ว ก็ต้องบังคับตาม ม. 932 วรรคสอง อนึ่ง ท่านบัญญัติไว้ว่า ในกรณีที่ผู้ทรงทำการโดยสุจริตแต่ลงวันคลาดเคลื่อนไปด้วยสำคัญผิดและในกรณีลงวันผิดทุกสถาน หากว่าในภายหลังตั๋วเงินนั้นตกไปยังมือผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ท่านให้คงเป็นตั๋วเงินที่ใช้ได้และพึงใช้เงินกันเหมือนดั่งว่าวันที่ได้จดลงนั้นเป็นวันที่ถูกต้องแท้จริงที่กล่าวมาในข้อ 2 นี้เป็นกรณีที่ผู้สั่งจ่ายไม่ได้ลงวันออกตั๋วไว้เลย
ข. สถานที่ออกตั๋วเงิน รายการนี้ไม่บังคับเด็ดขาด ม. 910 วรรคสี่ถ้าตั๋วแลกเงินไม่แสดงให้ปรากฏสถานที่ออกตั๋ว ท่านให้ถือว่าตั๋วเงินนั้นได้ออก ณ ภูมิลำเนาของผู้สั่งจ่าย
        ความสำคัญคือ เพื่อให้รู้ว่าเป็นตั๋วเงินภายในประเทศหรือตั๋วเงินออกมาแต่ต่างประเทศ และให้รู้ที่อยู่ผู้สั่งจ่ายในกรณีตั๋วเงินขาดความเชื่อถือโดยผู้จ่ายไม่รับรองหรือไม่ยอมใช้เงิน ผู้ทรงจะได้หาตัวผู้สั่งจ่ายพบ หรือจะได้ส่งคำบอกกล่าวได้ (ม. 963)
อนุมาตรา (8) ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย
รายการนี้บังคับเด็ดขาด ถ้าขาดย่อมไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วแลกเงิน (ม. 910)
ม. 9 “เมื่อมีกิจการอันใดซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือบุคคลผู้จะต้องทำหนังสือไม่จำเป็นต้องเขียนเอง แต่หนังสือนั้นต้องลงลายมือชื่อของบุคคลนั้น
ม. 900 วรรคสอง ถ้าลงเพียงแต่เครื่องหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น แกงได หรือลายพิมพ์นิ้วมือ อ้างเอาเป็นลายมือชื่อในตั๋วเงินไซร้ ถึงแม้ว่าจะมีพยานลงชื่อรับรองก็ตาม ท่านว่าหาให้ผลเป็นลงลายมือชื่อในตั๋วเงินไม่
9.1.2 วันถึงกำหนดของตั๋วแลกเงิน
วันถึงกำหนดของตั๋วแลกเงิน คือ วันถึงกำหนดใช้เงิน
ม. 913 “อันวันถึงกำหนดของตั๋วแลกเงินนั้นท่านว่าย่อมเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวต่อไปนี้ คือ
(1) ในวันใดวันหนึ่งที่กำหนดไว้ หรือ
(2) เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่วันที่ลงในตั๋วนั้น หรือ
(3) เมื่อทวงถามหรือเมื่อได้เห็น หรือ
(4) เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่ได้เห็นแบ่งเป็น 2 ชนิด
ก. ตั๋วแลกเงินที่สั่งให้ใช้เงินเมื่อทวงถามหรือเมื่อได้เห็น (ตาม ม. 913 (3))
- ตั๋วที่ให้ใช้เงินเมื่อเห็น นั้นผู้ทรงต้องยื่นให้ใช้เงินภายในหกเดือน นับแต่วันที่ลงในตั๋วนั้น ม. 944, 928
- ตั๋วที่ให้ใช้เงินเมื่อทวงถาม นั้น ผู้ทรงยื่นตั๋วทวงถามให้ใช้เงินเมื่อใดผู้จ่ายต้องใช้เงินทันที ผู้ทรงเก็บตั๋วไว้ได้นาน อาจจะเป็นสิบปี ตามใดที่ไม่ทวงถาม กำหนดอายุความยังไม่มี อายุความยังไม่เริ่มนับตาม ม. 1001, 1002 นัย ฎ. 404/2515 เว้นแต่เช็ค ม. 990 “ผู้ทรงต้องยื่นเช็คต่อธนาคารเพื่อให้ใช้เงิน คือว่าถ้าเป็นเช็คให้ใช้เงินในเมืองเดียวกันกับที่ออกเช็คต้องยื่นภายในเดือนหนึ่งนับแต่วันออกเช็คนั้น ถ้าเป็นเช็คให้ใช้เงินที่อื่นต้องยื่นภายในสามเดือน ถ้ามิฉะนั้น ท่านว่าผู้ทรงสิ้นสิทธิจะไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สลักหลังทั้งปวง ทั้งเสียสิทธิอันมีต่อผู้สั่งจ่ายด้วย เพียงเท่าที่จะเกิดความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ผู้สั่งจ่ายเพราะการที่ละเลยเสียไม่ยื่นเช็คนั้น
ข. ตั๋วแลกเงินที่มีกำหนดเวลาให้ใช้เงิน (ตาม ม. 913 (1) (2) (4))แบ่งเป็น 3 ชนิด
(1) ตั๋วแลกเงินที่สั่งให้ใช้เงินในวันใดวันหนึ่งที่กำหนดไว้ (ตาม ม. 913 (1)) : ปกติจะกำหนดตามวันแห่งปฏิทิน แต่กฎหมายไม่ได้กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ว่าตามวันแห่งปฏิทินจึงอาจกำหนดเป็นวันอื่นที่แน่นอนได้
(2) ตั๋วแลกเงินที่สั่งให้ใช้เงินเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่วันที่ลงในตั๋วนั้น ตาม ม. 913 (2)
(3) ตั๋วแลกเงินที่สั่งให้ใช้เงินเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่ได้เห็น ตาม ม. 913 (4) : ผู้ทรงต้องยื่นตั๋วให้เห็นก่อนจึงจะเริ่มนับวัน


Bills of Exchange
In international trade, a bill of exchange is typically a written order drawn up by the exporter and accepted by the importer, who is then responsible for paying a specific amount on presentation of the bill at a specified time in the future. The total term of credit is represented in a schedule of bills of exchange, often with consecutive six-monthly repayment dates.
Once the bills of exchange have been accepted by the importer, the exporter often sells the bills to a bank at a discounted rate (it’s called forfaiting). In this way, the exporter is paid in advance and is freed from the credit risk that their buyer may not be able to pay a bill of exchange when it falls due. In turn, the bank can insure against this risk of non-payment, pursuant to an NZECO financing guarantee.
http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%8B%E0%B8%A7%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99

ตั๋วแลกเงิน
ตั๋วแลกเงิน (Bill of exchange) คือ ตราสารการเงินระยะสั้น ที่บุคคลรายหนึ่งสั่งให้บุคคลอีกรายหนึ่ง จ่ายเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ในตั๋วแลกเงินนั้น ให้แก่บุคคลอีกรายหนึ่ง ในวันที่กำหนดบนหน้าตั๋วแลกเงินนั้น ตั๋วแลกเงินสามารถซื้อขายเปลี่ยนมือได้ในตลาดเงิน (money market) ส่วนใหญ่จะมีธนาคารหรือสถาบันการเงินค้ำประกัน หรือรับรอง หรือรับอาวัล หรือสลักหลังอย่างไม่มีเงื่อนไข ตั๋วเงินชนิดหนึ่งเป็นตราสารแสดงสิทธิในหนี้ มักใช้ในการซื้อขายสินค้าหรือกู้ยืมระยะสั้นจากธนาคาร โดยทั่วไปสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนได้
การออกตั๋วแลกเงิน
แนวคิด
1. ตั๋วแลกเงินต้องมีรายการได้แก่ (1) คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วแลกเงิน (2) คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้จ่ายเงินเป็นจำนวนแน่นอน (3) ชื่อหรือยี่ห้อผู้จ่าย (4) ชื่อหรือยี่ห้อผู้รับเงิน หรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ และ (5) ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย หากรายการดังกล่าวขาดตกบกพร่องไป ย่อมไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วแลกเงิน
2. วันถึงกำหนดของตั๋วแลกเงินก็คือ วันถึงกำหนดใช้เงินตามตั๋ว ซึ่งแยกได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ (1) ตั๋วแลกเงินที่สั่งให้ใช้เงินเมื่อทวงถามหรือเมื่อได้เห็น (2) ตั๋วแลกเงินที่กำหนดเวลาให้ใช้เงิน
3. ความรับผิดของผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังตั๋วแลกเงินเกิดขึ้นโดยเงื่อนไขว่าผู้ทรงต้องยื่นตั๋วต่อผู้จ่ายก่อน ถ้าผู้จ่ายไม่รับรองหรือไม่จ่ายเงินและผู้ทรงจัดให้ทำคำคัดค้านแล้วผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังจะใช้เงินแก่ผู้ทรง
4. ข้อกำหนดลบล้างหรือจำกัดความรับผิดและข้อกำหนดลดหน้าที่ของผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังตั๋วแลกเงินแยกได้ 2 ประการ ได้แก่ (1) ข้อกำหนดลบล้างหรือจำกัดความรับผิดของผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังที่มีต่อผู้ทรง (2) ข้อกำหนดลดหน้าที่ของผู้ทรงที่มีต่อผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลัง

รายการในตั๋วแลกเงิน
        ตั๋วแลกเงิน หมายถึง หนังสือตราซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้สั่งจ่ายสั่งบุคคลอีกคนหนึ่งที่เรียกว่า ผู้จ่ายให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลคนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ผู้รับเงินตั๋วแลกเงินจึงเป็นคำสั่งให้จ่ายเงินนั่นเอง
อนุมาตรา (1) คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วแลกเงิน
        คำบอกชื่อว่าตั๋วแลกเงินมีความหมายสำคัญเพื่อให้บุคคลที่เกี่ยวข้องรู้เห็นทราบได้ทันทีว่าตราสารนั้นเป็นตราสารพิเศษ และเนื่องจากเมื่อตราประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ขึ้น ตั๋วเงินเป็นของใหม่ไม่สู้แพร่หลาย จึงต้องบัญญัติให้ระบุลงไปในตั๋วให้ชัดแจ้งว่าเป็นตั๋วแลกเงิน ประกอบกับ Uniform Law (1930) ซึ่งเราอาศัยเป็นหลักในการร่างกฎหมายลักษณะตั๋วเงิน
        สำหรับตั๋วแลกเงินมาจากต่างประเทศ อาจไม่มีคำว่า ตั๋วแลกเงิน (Bill of Exchange) เพราะบางประเทศ กฎหมายของเขาไม่บังคับให้ต้องระบุดังในมาตรา 909 (1) อย่างไรก็ดี คำบอกชื่อว่าตั๋วแลกเงินไม่จำเป็นต้องเขียนที่หัวกระดาษ อาจเป็นข้อความในตั๋วเงินว่า first of exchange ก็ได้
อนุมาตรา (2) คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้จ่ายเงินเป็นจำนวนแน่นอน
        รายการนี้เป็นข้อบังคับเด็ดขาด ถ้าขาดไปจะไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วแลกเงิน (มาตรา 910) ตามรูปตัวอย่างตั๋วแลกเงินคือ โปรดจ่ายเงินจำนวนหนึ่งหมื่นบาทถ้าไม่กรอกจำนวนเงินเสียเลยหรือกรอกจำนวนเงินมิได้เป็นไปตามที่ผู้สั่งจ่ายขอร้อง ตั๋วแลกเงินนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ อธิบายแยกได้เป็น 3 หัวข้อ คือ
ก. คำสั่ง หมายความว่า เป็นคำบงการหรือคำบอก เพื่อให้ทำหรือให้ปฏิบัติโดยไม่ให้โอกาสเลือกทำหรือเลือกปฏิบัติของผู้รับคำสั่งและมิใช่เพียงแต่คำขอร้องหรือคำอ้อนวอนที่ผู้รับคำขอร้องหรือคำอ้อนวอนจะทำตามหรือไม่ก็ได้ อย่างไรก็ดี คำสั่งก็ไม่จำต้องเขียนลงไปในตัวแลกเงินตรงๆ ว่าข้าพเจ้ามีคำสั่งให้จ่ายเงินเพราะอาจใช้ถ้อยคำสุภาพลงไปในคำสั่งนั้นได้ เช่นโปรดจ่ายเงินซึ่งจะไม่ทำให้ตั๋วแลกเงินฉบับนั้นเสียไปเพราะมีความหมายเป็นข้อความกำหนดให้จ่ายเงินโดยผู้จ่ายไม่มีโอกาสเลือกจ่ายหรือไม่จ่ายตามอัธยาศัยของผู้จ่ายเช่นเดียวกัน
ข. อันปราศจากเงื่อนไข หมายความว่า ลักษณะสำคัญที่สุดของตั๋วแลกเงิน คือ ความแน่นอนที่ตั๋วแลกเงินจะต้องได้รับการจ่ายเงินตามตั๋วนั้น จะมีเงื่อนไขในการคำสั่งให้จ่ายเงิน ตั๋วแลกเงินนั้นย่อมเกิดความไม่แน่นอนขึ้น คำว่าเงื่อนไข หมายความว่า เหตุการณ์อันใดอันหนึ่งที่เกิดขึ้นในอนาคตและไม่แน่นอน (เทียบมาตรา 182 เติมมาตรา 144) จึงต่างกับเงื่อนเวลา ซึ่งจะต้องมาถึงในอนาคตอย่างแน่นอน ดั้งนั้น ข้อความในคำสั่งให้จ่ายเงินจะเป็นเงื่อนไขหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงความแน่นอนหรือไม่แน่นอนของเหตุการณ์ที่กำหนดไว้ในคำสั่งนั่นเอง
ค. ให้จ่ายเงินเป็นจำนวนแน่นอน หมายความว่า คำสั่งในตั๋วแลกเงินต้องเป็นคำสั่งจ่ายเงินถ้าเป็นคำสั่งให้กระทำการอย่างอื่นนอกจากเงินแล้วจะไม่ใช่ตั๋วแลกเงิน แต่ถ้ามีคำสั่งว่าให้จ่ายเงินและสิ่งของอื่นควบไปด้วย คงมีผลเฉพาะคำสั่งให้จ่ายเงินเท่านั้น ส่วนคำสั่งที่ให้จ่ายสินค้าที่ระบุไว้ ย่อมไม่มีผลแก่ตั๋วแลกเงิน (มาตรา 899) และถ้ามีคำสั่งให้ผู้รับตั๋วแลกเงินเลือกเอาว่าจะรับเงินหรือรับสิ่งของอื่นแทน ดังนี้น่าจะทำไม่ได้ เพราะจะกลายเป็นคำสั่งที่ไม่แน่นอน คำว่า เงินหมายถึง เงินตราที่ชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติเงินตรา ตั๋วแลกเงินโดยมากใช้ในระหว่างประเทศ ดังนั้น จึงสั่งจ่ายเป็นเงินตราต่างประเทศก็ได้ (มาตรา 196) คำว่าเงินจำนวนแน่นอนหมายความว่า ต้องเป็นเงินจำนวนที่เที่ยงแท้ไม่อาจเปลี่ยนแปลงไปทางเพิ่มหรือทางลดลงได้
อนุมาตรา (3) ชื่อหรือยี่ห้อผู้จ่าย
        รายการข้อนี้บังคับเด็ดขาด ถ้าขาดตกบกพร่องให้ถือว่าไม่เป็นตั๋วแลกเงิน (มาตรา 910)
        ผู้จ่าย คือ ผู้รับคำสั่งให้ใช้เงินตามตั๋วแลกเงิน จึงจำเป็นที่ผู้สั่งจ่ายต้องระบุชื่อผู้จ่ายไว้ในตั๋วแลกเงิน ผู้จ่ายอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ และอาจเป็นบุคคลเดียวหรือหลายคนร่วมกันจ่ายเงินก็ได้ เว้นแต่คำสั่งให้บุคคลหลายคนจ่ายเงินเรียงตามลำดับก่อนหลังโดยไม่ระบุให้รับผิดร่วมกัน หรือคำสั่งให้เลือกผู้จ่ายจากบุคคลหนึ่งบุคคลใดในหลายคนที่ระบุโดยไม่ระบุให้บุคคลเหล่านั้นต้องรับผิดร่วมกันจ่ายเงิน ย่อมทำให้ไม่ทราบตัวผู้จ่ายที่แน่นอนทำให้ตั๋วแลกเงินนั้นเสียไป
        การระบุชื่อจ่าย อาจระบุเพียงตำบลที่อยู่ซึ่งเข้าใจกันก็ได้ การระบุชื่อผู้จ่ายที่ไม่มีตัวตนหรือสมมติขึ้น ก็ไม่ทำให้ตั๋วแลกเงินเสียไป เพราะมีรายการชื่อผู้จ่ายแล้ว และตั๋วแลกเงินไม่มีตัวผู้จ่าย ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดต่อผู้ทรง ส่วนยี่ห้อเป็นชื่อที่บุคคลใช้ในการค้า ไม่เป็นนิติบุคคล การระบุยี่ห้อเป็นผู้จ่ายต้องเข้าใจว่าหมายถึงบุคคลใด ถ้าไม่อาจทราบได้ ก็เท่ากับไม่มีตัวผู้จ่าย ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดต่อผู้ทรง ผู้จ่ายอาจเป็นบุคคลเดียวกันกับผู้สั่งจ่ายตามที่ มาตรา 912 วรรคสอง บัญญัติว่าตั๋วแลกเงินจะสั่งจ่ายเอาจากตัวผู้สั่งจ่ายเองก็ได้
อนุมาตรา (4) วันถึงกำหนดใช้เงิน
วันถึงกำหนดใช้เงิน ย่อมเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ คือ
1. ในวันใดวันหนึ่งที่กำหนดไว้
2. เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่วันที่ลงในตั๋วนั้น
3. เมื่อทวงถามหรือเมื่อได้เห็น
4. เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่ได้เห็น
        รายการนี้ถ้าไม่ระบุไว้ ไม่ทำให้ตั๋วแลกเงินเสียไป แต่กฎหมายให้ถือว่าพึงใช้เงินเมื่อได้เห็น (มาตรา 910 วรรคสอง)
อนุมาตรา (5) สถานที่ใช้เงิน
        สถานที่ใช้เงินนั้น ตามความคิดธรรมดาที่ระบุไว้ก็เพื่อผู้ทรงจะได้รู้ตำแหน่งแห่งที่ในการที่จะเอาตั๋วไปขึ้นเงิน แต่ในกฎหมายตั๋วเงินนั้น ผู้จ่ายยังมิได้เข้าเป็นคู่สัญญาในตั๋วแลกเงิน สถานที่ใช้เงินจึงมีความสำคัญที่ผู้ทรงจะยื่นตั๋วแลกเงินเพื่อให้ผู้จ่ายรับรองหรือเพื่อเรียกร้องให้ผู้จ่ายใช้เงิน ณ ที่ใดตามที่กำหนดไว้ในตั๋วแลกเงินนั้น ถ้าไม่มีสถานที่ใช้เงินตามที่ระบุผู้ทรงต้องทำการคัดค้านไว้ (ม. 962) จึงจะไม่เสียสิทธิไล่เบี้ย (ม. 973) กรณีที่ไม่ได้แถลงไว้ในตั๋วแลกเงิน มาตรา 910 วรรคสาม ท่านให้ถือเอาภูมิลำเนาผู้จ่ายเป็นสถานที่ใช้เงิน
อนุมาตรา (6) ชื่อหรือยี่ห้อผู้รับเงินหรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ
        รายการข้อนี้บังคับเด็ดขาด ถ้าขาดตกบกพร่องไปย่อมไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วแลกเงิน ความสำคัญของชื่อหรือยี่ห้อผู้รับเงินคือ ทำให้ผู้จ่ายทราบว่าจะจ่ายเงินให้แก่ใคร จะเป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาก็ได้ จะเป็นชื่อจริงหรือชื่อสมมุติ หรือตำแหน่งก็ได้ (ถ้าเป็นชื่อสมมุติและไม่มีตัวจริง กฎหมายอังกฤษให้จ่ายแก่ผู้ถือ แต่ของไทยไม่ได้ใช้อย่างนั้น)
อนุมาตรา (7) วันและสถานที่ออกตั๋วเงิน
ก. วันออกตั๋วเงิน หมายความถึงวันที่ระบุในตั๋วเงินนั้นได้ออกเมื่อใด ซึ่งกฎหมายไม่ได้ระบุว่าต้องใช้ ตามวันแห่งปฏิทินดังนั้นอาจระบุอย่างอื่นได้ เช่น วันเข้าพรรษา ปี 2537 หรือ วันเฉลิมพระชนมพรรษา ปี 2538 เป็นต้น ความสำคัญ คือ
1) แสดงให้รู้กำหนดอายุของตั๋วเงิน ตามชนิดต่าง ๆ เช่น ชนิดใช้เงินเมื่อเห็น หรือ เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่ได้เห็นว่า ผู้ทรงต้องนำตั๋วยื่นให้ผู้จ่ายใช้เงินหรือรับรองภายในกำหนด
2) ตั๋วเงินชนิดที่ให้ใช้เงินเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินนั้น วันออกตั๋วเงินมีความสำคัญที่จะต้องระบุไว้ในตั๋วนั้น
3) ต้องใช้ในการคำนวณดอกเบี้ย
- บุคคลที่จะลงวันออกตั๋วเงิน มีได้ 2 คน คือ (1) ผู้สั่งจ่าย (2) ผู้ทรง
1) กรณีผู้สั่งจ่ายเป็นผู้ลงวันออกตั๋วเงิน : ผู้สั่งจ่ายสามารถตั้งใจลงวันให้ผิดความจริงได้ คือ ลงวันย้อนต้น ลงวันถัดไป หรือ ลงวันล่วงหน้า ก็ได้
2) กรณีผู้ทรงเป็นผู้ลงวันออกตั๋วเงิน : ม. 910 วรรคห้า ถ้ามิได้ลงวันออกตั๋ว ท่านว่าผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายคนหนึ่งคนใดทำการโดยสุจริตจะจดวันตามที่ถูกต้องแท้จริงลงก็ได้และ มาตรา 932 วรรคแรกตั๋วแลกเงินฉบับใดเขียนสั่งให้ใช้เงินในกำหนดระยะเวลาอย่างใดอย่างหนึ่งนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินนั้น แต่หากมิได้ลงวันไว้ ฯลฯ ท่านว่าผู้ทรงจะจดวันออกตั๋ว ฯลฯ ลงตามที่แท้จริงก็ได้ แล้วพึงให้ใช้เงินตามนั้นหมายความว่า ในกรณีที่ผู้สั่งจ่ายมิได้ลงวันออกตั๋วเงินไว้เลย ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายหรือผู้ทำการแทนผู้ทรงโดยชอบย่อมมีสิทธิที่จะจดวันออกตั๋วได้ แต่ต้องเป็นการจดวันตามที่ถูกต้องแท้จริงและการจดวันนั้นต้องจดโดยสุจริต คือ จดตามวันที่ผู้ทรงเชื่อหรือเข้าใจว่าเป็นวันที่ถูกต้องนั่นเอง
        ถ้าผู้ทรงจดวันลงไปไม่ตรงตามที่เป็นจริง ที่เรียกว่า ลงวันคลาดเคลื่อนหรือลงวันผิดนั้น ไม่ว่าผู้ทรงจะสุจริตหรือไม่สุจริตก็ตาม ถ้าตั๋วเงินนั้นโอนต่อไปยังผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายคนถัดไปแล้ว ก็ต้องบังคับตาม ม. 932 วรรคสอง อนึ่ง ท่านบัญญัติไว้ว่า ในกรณีที่ผู้ทรงทำการโดยสุจริตแต่ลงวันคลาดเคลื่อนไปด้วยสำคัญผิดและในกรณีลงวันผิดทุกสถาน หากว่าในภายหลังตั๋วเงินนั้นตกไปยังมือผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ท่านให้คงเป็นตั๋วเงินที่ใช้ได้และพึงใช้เงินกันเหมือนดั่งว่าวันที่ได้จดลงนั้นเป็นวันที่ถูกต้องแท้จริงที่กล่าวมาในข้อ 2 นี้เป็นกรณีที่ผู้สั่งจ่ายไม่ได้ลงวันออกตั๋วไว้เลย
ข. สถานที่ออกตั๋วเงิน รายการนี้ไม่บังคับเด็ดขาด ม. 910 วรรคสี่ถ้าตั๋วแลกเงินไม่แสดงให้ปรากฏสถานที่ออกตั๋ว ท่านให้ถือว่าตั๋วเงินนั้นได้ออก ณ ภูมิลำเนาของผู้สั่งจ่าย
        ความสำคัญคือ เพื่อให้รู้ว่าเป็นตั๋วเงินภายในประเทศหรือตั๋วเงินออกมาแต่ต่างประเทศ และให้รู้ที่อยู่ผู้สั่งจ่ายในกรณีตั๋วเงินขาดความเชื่อถือโดยผู้จ่ายไม่รับรองหรือไม่ยอมใช้เงิน ผู้ทรงจะได้หาตัวผู้สั่งจ่ายพบ หรือจะได้ส่งคำบอกกล่าวได้ (ม. 963)
อนุมาตรา (8) ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย
รายการนี้บังคับเด็ดขาด ถ้าขาดย่อมไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วแลกเงิน (ม. 910)
ม. 9 “เมื่อมีกิจการอันใดซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือบุคคลผู้จะต้องทำหนังสือไม่จำเป็นต้องเขียนเอง แต่หนังสือนั้นต้องลงลายมือชื่อของบุคคลนั้น
ม. 900 วรรคสอง ถ้าลงเพียงแต่เครื่องหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น แกงได หรือลายพิมพ์นิ้วมือ อ้างเอาเป็นลายมือชื่อในตั๋วเงินไซร้ ถึงแม้ว่าจะมีพยานลงชื่อรับรองก็ตาม ท่านว่าหาให้ผลเป็นลงลายมือชื่อในตั๋วเงินไม่
9.1.2 วันถึงกำหนดของตั๋วแลกเงิน
วันถึงกำหนดของตั๋วแลกเงิน คือ วันถึงกำหนดใช้เงิน
ม. 913 “อันวันถึงกำหนดของตั๋วแลกเงินนั้นท่านว่าย่อมเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวต่อไปนี้ คือ
(1) ในวันใดวันหนึ่งที่กำหนดไว้ หรือ
(2) เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่วันที่ลงในตั๋วนั้น หรือ
(3) เมื่อทวงถามหรือเมื่อได้เห็น หรือ
(4) เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่ได้เห็นแบ่งเป็น 2 ชนิด
ก. ตั๋วแลกเงินที่สั่งให้ใช้เงินเมื่อทวงถามหรือเมื่อได้เห็น (ตาม ม. 913 (3))
- ตั๋วที่ให้ใช้เงินเมื่อเห็น นั้นผู้ทรงต้องยื่นให้ใช้เงินภายในหกเดือน นับแต่วันที่ลงในตั๋วนั้น ม. 944, 928
- ตั๋วที่ให้ใช้เงินเมื่อทวงถาม นั้น ผู้ทรงยื่นตั๋วทวงถามให้ใช้เงินเมื่อใดผู้จ่ายต้องใช้เงินทันที ผู้ทรงเก็บตั๋วไว้ได้นาน อาจจะเป็นสิบปี ตามใดที่ไม่ทวงถาม กำหนดอายุความยังไม่มี อายุความยังไม่เริ่มนับตาม ม. 1001, 1002 นัย ฎ. 404/2515 เว้นแต่เช็ค ม. 990 “ผู้ทรงต้องยื่นเช็คต่อธนาคารเพื่อให้ใช้เงิน คือว่าถ้าเป็นเช็คให้ใช้เงินในเมืองเดียวกันกับที่ออกเช็คต้องยื่นภายในเดือนหนึ่งนับแต่วันออกเช็คนั้น ถ้าเป็นเช็คให้ใช้เงินที่อื่นต้องยื่นภายในสามเดือน ถ้ามิฉะนั้น ท่านว่าผู้ทรงสิ้นสิทธิจะไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สลักหลังทั้งปวง ทั้งเสียสิทธิอันมีต่อผู้สั่งจ่ายด้วย เพียงเท่าที่จะเกิดความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ผู้สั่งจ่ายเพราะการที่ละเลยเสียไม่ยื่นเช็คนั้น
ข. ตั๋วแลกเงินที่มีกำหนดเวลาให้ใช้เงิน (ตาม ม. 913 (1) (2) (4))แบ่งเป็น 3 ชนิด
(1) ตั๋วแลกเงินที่สั่งให้ใช้เงินในวันใดวันหนึ่งที่กำหนดไว้ (ตาม ม. 913 (1)) : ปกติจะกำหนดตามวันแห่งปฏิทิน แต่กฎหมายไม่ได้กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ว่าตามวันแห่งปฏิทินจึงอาจกำหนดเป็นวันอื่นที่แน่นอนได้
(2) ตั๋วแลกเงินที่สั่งให้ใช้เงินเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่วันที่ลงในตั๋วนั้น ตาม ม. 913 (2)
(3) ตั๋วแลกเงินที่สั่งให้ใช้เงินเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่ได้เห็น ตาม ม. 913 (4) : ผู้ทรงต้องยื่นตั๋วให้เห็นก่อนจึงจะเริ่มนับวัน


Bills of Exchange
In international trade, a bill of exchange is typically a written order drawn up by the exporter and accepted by the importer, who is then responsible for paying a specific amount on presentation of the bill at a specified time in the future. The total term of credit is represented in a schedule of bills of exchange, often with consecutive six-monthly repayment dates.
Once the bills of exchange have been accepted by the importer, the exporter often sells the bills to a bank at a discounted rate (it’s called forfaiting). In this way, the exporter is paid in advance and is freed from the credit risk that their buyer may not be able to pay a bill of exchange when it falls due. In turn, the bank can insure against this risk of non-payment, pursuant to an NZECO financing guarantee.
This is summarised in the diagram below:

          

http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%8B%E0%B8%A7%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99

วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Letter of Credit

Letters of Credit
        Letters of credit are a means of payment between an exporter and importer via their banks. A letter of credit is a document issued by the buyer’s bank guaranteeing payment once all the conditions stated in the letter have been met.
        Essentially, the process is that the buyer requests its bank to open a letter of credit in favour of the exporter. The exporter then asks its bank to confirm the letter of credit. The exporter is able to receive the payment specified on the letter of credit by presenting its bank with the set of documents required by the letter of credit (generally shipping and delivery documentation).
        The NZECO’s financing guarantee covers the exporter’s bank’s subsequent credit risk that the buyer's bank will not be able to repay this amount the bank has already disbursed to the exporter.
This process is summarised in the diagram below


เลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit หรือ L/C)

        เลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit หรือ L/C) หมายความว่า เป็นเอกสารหรือคำสั่งที่ออกโดยธนาคารหนึ่งหรือบุคคลหนึ่ง ณ ที่หนึ่งให้ธนาคารหรือบุคคลอื่นที่จ่าหน้าถึง ณ ที่อีกแห่งหนึ่งจ่ายเงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลที่ระบุไว้ เงินที่จ่ายไปนั้นจะเรียกคืนได้จากผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต
        การชำระเงินโดยเลตเตอร์ออฟเครดิตนี้เป็นวิธีการที่ผู้ซื้อสินค้าได้ตกลงกับธนาคารของตน (Opening Bank) ให้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตให้กับผู้ขายสินค้า โดยธนาคารตกลงจะจ่ายเงินให้กับผู้ขายตามจำนวนที่ระบุภายใต้เงื่อนไขที่ว่า ผู้ขายจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดในเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้น

การเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit)

        การส่งสินค้า L/C จะช่วยให้เกิดความมั่นใจทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ที่นิยมใช้กันแพร่หลายมี 2 ชนิดคือ
  • เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนได้ ผู้เกี่ยวข้องสามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข ได้ทุกเวลา แต่ต้องก่อนที่จะมีการรับซื้อเอกสารนั้น
  • เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนไม่ได้ธนาคารผู้เปิด L/C มีพันธะผูกพันแน่นอน ตาม L/C ที่เปิดจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขไม่ได้นอกจากจะได้รับการยินยอม

 การขายแบบ Letter of Credit (L/C) หรือเลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้า

        หมายถึง ตราสารที่ธนาคารผู้เปิด L/C เป็นผู้ออกโดยคำสั่งของผู้ซื้อ เพื่อแจ้งไปยังผู้ขายผ่านทางธนาคาร ตัวแทนเป็นการยืนยันว่าเมื่อผู้ขายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ถูกต้องครบถ้วนแล้วธนาคารผู้เปิด L/C จะชำระเงินให้แก่ผู้ขาย
สาเหตุที่ผู้ส่งออกนิยมใช้วิธีนี้ก็เพราะ ผู้ซื้อมีความมั่นใจว่าถ้าสั่งซื้อสินค้าด้วยการเปิด L/C ไปให้ผู้ขายแล้วผู้ขายจะจัดส่งสินค้าไปให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ทุกประการ หากผู้ขายไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ใน L/C ธนาคารก็จะเป็นผู้รับผิดชอบในการติดต่อประณีประนอม หรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากผู้ขายได้
                ส่วนผู้ขายเองก็มีความมั่นใจในการส่งสินค้าออกเช่นเดียวกัน เพราะหลังจากที่ส่งสินค้าไปให้ผู้ซื้อแล้วและจัดทำเอกสารส่งออกให้ครบและถูกต้องก็จะสามารถไปรับเงินจากธนาคารในประเทศของผู้ขายได้ทันที
        ขั้นตอนในการเปิด L/C นั้น เริ่มจากภายหลังการตกลงซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเรียบร้อยแล้ว ผู้ซื้อต้องมาติดต่อกับธนาคารของตนเพื่อขอเปิด L/C ธนาคารจะดำเนินการให้เฉพาะลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อหรือหาผู้ซื้อไม่มีวงเงิน ธนาคารอาจขอให้จ่ายค่ามัดจำค่าสินค้าล่วงหน้าก่อน แล้วจึงเปิด L/C ให้ ธนาคารในประเทศผู้ซื้อที่เปิด L/C เรียกว่า ธนาคารผู้เปิด L/C โดยผ่านธนาคารตัวแทนในประเทศผู้ขาย เรียกว่า ธนาคารผู้แจ้งการเปิด L/C เมื่อผู้ขายได้รับ L/C แล้วต้องตรวจสอบว่า L/C เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่ หากถูกต้องผู้ขายสามารถดำเนินการส่งสินค้าออกได้ทันที โดยนำสินค้าของตนไปส่งให้กับบริษัทขนส่ง หรือบริษัทผู้รับขนส่งสินค้า หรือขึ้นเครื่องบินเพื่อจัดส่งไปให้ผู้ซื้อ ผู้ขายจะได้รับในตราส่งสินค้าจากบริษัทขนส่งเพื่อแสดงว่าได้รับสินค้าบรรทุกลงเรือหรือขึ้นเครื่องบินแล้ว
        หลังจากนั้น ผู้ขายจะจัดทำใบกำกับสินค้า ตั๋วแลกเงินและเอกสารอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าเอกสารการส่งออกนำมาขอขึ้นเงินกับธนาคารตามเงื่อนไขใน L/C โดยผู้ขายจะต้องปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขใน L/C ทุกประการ ธนาคารผู้รับซื้อตั๋วจะชำระเงินทันทีในกรณีเป็นตั๋วจ่ายเงินเมื่อเห็น หรือจ่ายเงินเมื่อครบกำหนดตามที่ L/C ระบุ และขอรับเงินหรือหักบัญชีของธนาคารผู้เปิด L/C ด้วย หลังจากนั้นจึงส่งเอกสารทั้งหมดมายังธนาคารผู้เปิด L/C เพื่อเรียกเก็บจากผู้ซื้อพร้อมทั้งส่งมอบเอกสารการส่งออกให้กับผู้ซื้อเพื่อทำการออกสินค้าต่อไป

 การชำระเงินโดยวิธีเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter Of Credit)

        เป็นวิธีการชำระเงินที่ธนาคารเข้ามามีบทบาทในการให้ความมั่นใจแก่ผู้ขายว่าเมื่อผู้ขายส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อแล้วและนำเอกสารเกี่ยวกับการส่งสินค้า (Shipping Documints)ที่ถูกต้องตามที่ระบุในเงื่อนไขของเลตเตอร์ออฟเครดิตเดิมมายื่นให้ธนาคาร ธนาคารก็จะชำระหนี้ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตซึ่งเป็นสัญญาอีกฉบับหนึ่งแยกต่างหากจากสัญญาซื้อขายสินค้า ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้นธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิต (Issuing Bank) เข้ารับภาระที่จะชำระเงินให้ผู้ขายซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ (Beneficiary)ตามเลตเตอร์ออฟเครดิต หากผู้ขายปฏิบัติตามถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุในเลตเตอร์ออฟเครดิต ทั้งนี้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Application for the Credit) ของผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Applicant) ต่อธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิต นอกจากนี้ธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตยังเข้ารับภาระต่อผู้ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตในการทำการตรวจเอกสารเกี่ยวกับสินค้า(Shipping Document)ว่าถูกต้องครบถ้วนตามที่ระบุในเงื่อนไขของเลตเตอร์ออฟเครดิตหรือไม่หากตรวจสอบแล้วเห็นว่าถูกต้องก็จะดำเนินการชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิต
หลักสำคัญของสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต มีดังนี้ คือ
        1.สัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตเป็นสัญญาแยกต่างหากจากสัญญาซื้อขายหรือสัญญาอื่นที่เป็นเหตุให้มีการทำสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตธนาคารผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตจะไม่เกี่ยวข้องหรือผูกพันกับสัญญาซื้อขายหรือสัญญาอื่นดังกล่าว แม้จะมีการอ้างถึงสัญญาดังกล่าวนั้นในเครดิตก็ตาม ดังนั้นการเข้ารับภาระของธนาคารผู้เปิดเครดิตในอันที่จะชำระเงินรับรองและชำระเงินตามตั๋วแลกเงินหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินหรือปฏิบัติการชำระหนี้อื่นใดตามเลตเตอร์ออฟเครดิตจะไม่ขึ้นอยู่กับสิทธิเรียกร้องหรือข้อต่อสู้ของผู้ของผู้ขอเปิดเครดิตอันสืบเนื่องมาจากความสัมพันธ์ของผู้ขอเปิดเครดิตที่มีต่อธนาคารผู้เปิดเครดิตหรือผู้รับประโยชน์ถึงแม้ผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้ขอเปิดเครดิตจะปฏิเสธไม่ยอมชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตโดยอ้างเหตุว่าสินค้าหายหรือไม่ตรงตามที่ตกลงในสัญญาซื้อขายก็ตามธนาคารผู้เปิดเครดิตก็ยังมีหน้าที่ชำระเงินรับรองและชำระเงินตามตั๋วแลกเงินหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินหรือปฏิบัติการชำระหนี้อื่นใดตามเลตเตอร์ออฟเครดิตตราบใดที่ผู้รับประโยชน์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุในเลตเตอร์ออฟเครดิต
        2. ในคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตตัวเลตเตอร์ออฟเครดิตเองและบางกรณีคำสั่งให้แก่เลตเตอร์ออฟเครดิตรวมทั้งการแก้ไขเลตเตอร์ออฟเครดิตจะต้องระบุโดยชัดแจ้งถึงเอกสารที่จะต้องเสนอ เพื่อให้มีการชำระเงินรับรอง หรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงิน ธนาคารมีหน้าที่ตรวจสอบเอกสารที่ระบุไว้ในเครดิต โดยใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อให้แน่ใจว่าข้อความที่ปรากฏในเอกสารนั้นถูกต้องตามข้อตกลงและเงื่อนไขของเครดิต
        3. ข้อยกเว้นขอหลักที่กล่าวถึงข้างต้นมีอยู่ประการเดียวคือ กรณีฉ้อฉลซึ่งหากเกิดกรณีฉ้อฉลขึ้นธนาคารผู้เปิดเครดิตและธนาคารผู้ยืนยันเครดิตจะต้องปฏิเสธไม่ชำระหนี้ตามเครดิตชนิดของเลตเตอร์ออฟเครดิต อาจแบ่งแยกได้เป็น 4 ชนิด คือ
        1. เครดิตชนิดเพิกถอนได้ (Revocable Credit) หมายถึงเครดิตที่ธนาคารผู้ออกเครดิตสามารถแก้ไขหรือยกเลิกได้ทุกเวลาโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าให้ผู้รับประโยชน์ทราบ ทั้งนี้มีเงื่อนไขว่าธนาคารผู้เปิดเครดิตจะต้อง
                1.1ชดใช้ให้แก่ธนาคารอื่นหากธนาคารอื่นนั้นได้ทำการชำระเงินรับรองหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินเมื่อได้รับเอกสารซึ่งมีข้อความที่ปรากฏถูกต้องตามที่ระบุในข้อตกลงและเงื่อนไขของเครดิตและเครดิตชนิดเพิกถอนได้นั้นกำหนดเป็นเงื่อนไขให้ชำระเงินทันทีที่ได้เห็นรับรองหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินได้ ทั้งนี้ธนาคารอื่นนั้นได้ชำระรับรองหรือซื้อตั๋วแลกเงินก่อนที่จะได้รับแจ้งจากธนาคารผู้เปิดเครดิตถึงการยกเลิกเครดิต
                1.2 ชดใช้ให้ธนาคารอื่นหากธนาคารอื่นนั้นได้รับเอกสารซึ่งมีข้อความที่ปรากฏถูกต้องครบถ้วนตรงตามที่ระบุในข้อตกลงและเงื่อนไขของเครดิตและเครดิตชนิดเพิกถอนได้นั้นกำหนดเป็นเงื่อนไขให้ชำระเงินในวันหนึ่งวันใดตามที่ระบุไว้ในอนาคตได้ ทั้งนี้โดยธนาคารอื่นนั้นได้รับเอกสารไว้ก่อนที่จะได้รับแจ้งจากธนาคารผู้เปิดเครดิตถึงการแก้ไขหรือการยกเลิกเครดิต
        2. เครดิตชนิดเพิกถอนไม่ได้ (Irrevocable Credit) เป็นเครดิตที่ธนาคารผู้เปิดเครดิตเข้ารับภาระที่แน่นอนในอันที่จะชำระหนี้ตามเครดิตทั้งนี้ โดยมีเงื่อนไขว่า มีการเสนอเอกสารที่ระบุไว้ให้แก่ธนาคารผู้ได้รับมอบหมาย หรือธนาคารผู้เปิดเครดิตและได้มีการปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามข้อตกลงและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในเครดิตแล้วธนาคารผู้เปิดเครดิตจะทำการชำระหนี้ตามเครดิตต่อไป
        3. เครดิตชนิดยื่นยัน (Confirmed Credit)คือเครดิตที่ธนาคารอื่นยืนยันเครดิตชนิดเพิกถอนไม่ได้ เมื่อมีการให้อำนาจโดยหรือตามคำร้องขอของธนาคารผู้เปิดเครดิตซึ่งถือว่าเป็นการเข้ารับภาระที่แน่นอนของธนาคารผู้ยืนยันเครดิตเพิ่มขึ้นจากหนี้หรือหน้าที่รับผิดชอบของธนาคารผู้เปิดเครดิตนั้นที่จะชำระหนี้ ทั้งหนี้โดยมีเงื่อนไขว่ามีการเสนอเอกสารที่ระบุไว้ให้แก่ธนาคารผู้เปิดเครดิตหรือธนาคารผู้ได้รับมอบหมายใดๆ และได้มีการปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามข้อตกลงและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในเครดิตแล้ว
        4. เครดิตชนิดไม่ยืนยัน (Unconfirmed Credit) เครดิตชนิดนี้ธนาคารในประเทศผู้ขาย (ธนาคารผู้แจ้งเครดิต) เพียงแต่แจ้งเครดิตให้ผู้รับประโยชน์เท่านั้นจึงไม่เข้าไปยืนยันเครดิตฉบับนั้นด้วยเครดิตประเภทนี้ธนาคารผู้แจ้งเครดิตจึงไม่มีความรับผิดชอบใดๆ

อ้างอิงจาก http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/